วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การคัดเลือกนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลระดับปริญญาตรี ระบบมหิดลโควตา ปีการศึกษา 2556

ประเภทโควตาในระบบมหิดลโควตา
ระบบมหิดลโควตา รับสมัครเฉพาะผู้ที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของปีการศึกษา 2555 ของโรงเรียนภายในประเทศและมีคุณสมบัติตามที่หลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลกำหนดเท่านั้น โดยจะต้องสอบข้อเขียนรับตรงร่วมที่ดำเนินการโดย สทศ. และสอบสัมภาษณ์ หรือสอบวิชาเฉพาะ หรือสอบความถนัดทางวิชาชีพและตรวจร่างกายตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด และยืนยันสิทธิ์การเข้าศึกษาในระบบ Clearinghouse ที่ดำเนินการโดย สอท. ทั้งนี้ได้กำหนดประเภทมหิดลโควตาไว้ 5 แบบ ดังนี้
1.1
โควตาวิทยาเขต
เป็นโควตาที่ให้สิทธิ์กับนักเรียนที่ศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนที่อยู่ในเขตจังหวัดหรือจังหวัดใกล้เคียงกับที่ตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหิดล โควตาวิทยาเขตมี 34 หลักสูตร จำนวนรับทั้งหมด 463 คน (ดูรายละเอียดในตาราง) ซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจังหวัดดังนี้
(1)
กลุ่มกาญจนบุรี ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี (ไม่รวมโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์)
(2)
กลุ่มนครสวรรค์ ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
(3)
กลุ่มอำนาจเจริญ ได้แก่ อำนาจเจริญ ยโสธร มุกดาหาร และร้อยเอ็ด
(4)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในเครือข่าย ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล
1.2
โควตาพื้นที่
เป็นโควตาที่ให้สิทธิ์กับนักเรียนที่ศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ที่บางคณะกำหนดไว้เป็นพิเศษ โควตาพื้นที่มี 13 หลักสูตร จำนวนรับทั้งหมด 139 คน (ดูรายละเอียดในตาราง) ซึ่งมีดังนี้
(1)
โควตาพื้นที่ที่ให้ทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร
มี 2 โครงการ จำนวน 3 หลักสูตร จำนวนรับทั้งหมด 35 คน ได้แก่
(1.1)
โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.)
เป็นโครงการในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ (สาขาที่จัดสอนที่พญาไท ได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ และสาขาที่จัดสอนที่วิทยาเขตนครสวรรค์ ได้แก่ ธรณีศาสตร์) ที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)ให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ผู้มีสิทธิ์สมัคร ได้แก่ ผู้ที่เรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนใน 16 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อุทัยธานี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยมี จำนวนรับ 10 คน รายละเอียดทุนติดต่อได้ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
(1.2)
โครงการพยาบาลชุมชนเพื่อชุมชน (จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี)
เป็นโครงการพัฒนาบุคคลในชุมชนที่มีเจตคติและมุ่งมั่นที่จะเป็นพยาบาลวิชาชีพ ทั้งนี้ก่อนการสมัครเข้าศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จะต้องผ่านการคัดกรองเบื้องต้นจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ที่พร้อมให้การสนับสนุนทุนการศึกษา เมื่อผ่านการคัดเลือกและศึกษาสำเร็จแล้ว จะต้องกลับไปปฏิบัติงานเป็นกำลังสำคัญของโรงพยาบาลในจังหวัดหรือในตำบลที่สนับสนุนทุนการศึกษา เพื่อให้การดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนนั้นๆ จำนวนรับ 5 คน
(1.3)
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
เป็นหลักสูตรที่รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดอำนาจเจริญ มีสิทธิ์สมัครขอรับทุนการศึกษาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ปีละ 10 ทุน) จำนวนรับ 10 คน
(2)
โควตาพื้นที่ที่รับเข้าศึกษาโดยไม่มีทุนการศึกษา
รับใน 11 หลักสูตร จำนวนรับทั้งหมด 124 คน ได้แก่
(2.1)
โควตาโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังจัดตั้งโรงพยาบาลในเขตบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จึงให้โควตานักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ สมัครในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยมีจำนวนรับ 2 คน และในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดยมีจำนวนรับ 20 คน
(2.2)
โควตาโรงเรียนในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
เป็นโควตาของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ สำหรับผู้มีภูมิลำเนาเกิด และศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนที่อยู่ในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จำนวนรับ 1 คน
(2.3)
โควตาพื้นที่อุตสาหกรรมหนาแน่น
เป็นโควตาของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยให้สิทธิ์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่ศึกษาในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมหนาแน่นใน 16 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร ระยอง ลำพูน อยุธยา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ราชบุรี สระบุรี สงขลา ปราจีนบุรี และนครราชสีมา จำนวนรับ 10 คน
(2.4)
โควตาพัฒนาวิศวกร
คณะวิศวกรรมศาสตร์ให้โควตาพัฒนาวิศวกร แก่ผู้ที่เรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนที่อยู่ใน 12 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และประจวบคีรีขันธ์ เพื่อศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า/วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร และสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จำนวนรับ 54 คน
(2.5)
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
เป็นหลักสูตรที่รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวนรับ 10 คน จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จำนวนรับ 10 คน
(2.6)
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
เฉพาะโควตาพื้นที่ผู้สมัครต้องเป็นผู้กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนในสังกัดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้น
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการอาหาร) กำหนด GPA ไม่ต่ำกว่า 2.50 จำนวนรับ 5 คน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์) กำหนดเขตพื้นที่การศึกษาละไม่เกิน 3 คน จำนวน 4 เขตพื้นที่การศึกษา กำหนด GPA ไม่ต่ำกว่า 2.50 คะแนนขั้นต่ำทุกรายวิชาไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 30 จำนวนรับ 12 คน
1.3
โควตาโครงการพิเศษ
เป็นโควตาที่ให้สิทธิ์นักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั่วประเทศ โดยมีทั้งโครงการที่ให้ทุนการศึกษา และที่ไม่ได้ให้ทุนการศึกษา โควตาโครงการพิเศษมี 28 หลักสูตร จำนวนรับทั้งหมด 241 คน (ดูรายละเอียดในตาราง) ซึ่งมีดังต่อไปนี้
(1)
โครงการพิเศษที่ให้ทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร
มี 3 โครงการ จำนวน 2 หลักสูตร จำนวนรับทั้งหมด 62 คน ได้แก่
(1.1)
โครงการศรีตรังทอง
เป็นโครงการในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ เขตพญาไท ที่ให้ทุนการศึกษาตลอดหลักสูตรในระดับปริญญาตรีและปริญญาเอก ผู้มีสิทธิ์สมัครได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนทั่วประเทศ ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่น้อยกว่า 3.00 และคะแนนเฉลี่ยหมวดวิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 3.00 จำนวนรับ 50 คน
ผู้สมัครที่ได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ถึงเกณฑ์ได้รับทุน แต่มีคะแนนที่ดีพอจะได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้โดยไม่ได้รับทุน
(1.2)
โครงการพยาบาลเพื่อคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นโครงการพัฒนาบุคคลที่มีเจตคติและมุ่งมั่นที่จะให้บริการทางการแพทย์และทันตกรรม เพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ โดยได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับการบรรจุเข้าปฏิบัติงานเป็นกำลังสำคัญของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นโรงพยาบาล ที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จำนวนรับ 7 คน
(1.3)
โครงการพยาบาลเพื่อศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
เป็นโครงการพัฒนาบุคคลที่มีเจตคติและมุ่งมั่นที่จะให้บริการทางการแพทย์สาธารณสุขและทันตกรรม เพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ โดยได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับการบรรจุเข้าปฏิบัติงานเป็นกำลังสำคัญของศูนย์การแพทย์ กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นทั้งแหล่งการศึกษาวิจัยและให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จำนวนรับ 5 คน
(2)
โครงการพิเศษที่รับเข้าศึกษาโดยไม่มีทุนการศึกษา
มี 15 โครงการ จำนวน 18 หลักสูตร จำนวนรับทั้งหมด 179 คน ได้แก่
(2.1)
โครงการรับนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้
เป็นโครงการที่กระทรวงมหาดไทยให้โอกาสนักเรียนชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามที่เรียนในโรงเรียนของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวนรับ 1 คน  (ดูภาคผนวก ฉ)
(2.2)
โครงการโรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
เป็นโครงการที่ให้โอกาสนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ศึกษาในโรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 2.75 คะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์ แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 2.75 วิชาภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 3.00 วิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษาแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 2.00 เข้าศึกษาในหลักสูตรกายอุปกรณศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวนรับ 1 คน และเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวนรับ 3 คน(ผู้สมัครต้องเลือกสาขาวิชาที่สมัครให้ถูกต้องตรงกับโครงการ)
(2.3)
โครงการพัฒนางานแพทย์แผนไทยประยุกต์
เป็นโครงการในหลักสูตรแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นทายาทของหมอพื้นบ้านตามความพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 และได้รับการตรวจสอบและรับรองตามทะเบียนโดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จำนวนรับ 6 คน
(2.4)
โครงการพัฒนาเภสัชกร
เป็นโครงการที่ให้โอกาสเยาวชนที่มีบิดาหรือมารดาเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน และมีความประสงค์จะเป็นเภสัชกร เข้าศึกษาในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ จำนวนรับ 10 คน
(2.5)
โครงการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เป็นโครงการที่ให้โอกาสนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ศึกษาในโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง ได้แก่ ชลบุรี เชียงราย ตรัง บุรีรัมย์ ปทุมธานี พิษณุโลก เพชรบุรี มุกดาหาร ลพบุรี เลย สตูล และนครศรีธรรมราช เข้าศึกษา ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์จำนวนรับ 24 คน
(2.6)
โครงการรับผู้มีประสบการณ์ทางวิชาชีพ
เป็นโครงการที่คณะเทคนิคการแพทย์ให้โอกาสผู้มีประสบการณ์ทำงานวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ให้ศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จำนวนรับ 5 คน และในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค จำนวนรับ 3 คน
(2.7)
โครงการพัฒนาสาธารณสุขสู่ท้องถิ่น
เป็นโครงการของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ที่พัฒนาเยาวชนทั่วประเทศที่ประสงค์จะเป็นนักสาธารณสุข และมีบิดาหรือมารดาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือเป็นบุคลากรที่ทำงานด้านสาธารณสุขในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด ทั่วประเทศ เข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ จำนวนรับ 20 คน
(2.8)
โครงการกายภาพบำบัดเพื่อชุมชน
เป็นโครงการในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด เพื่อผลิตนักกายภาพบำบัดที่มีเจตคติ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ทั้งนี้จะต้องผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเพื่อรับทุนสนับสนุนการศึกษา และเมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องกลับไปปฏิบัติงานในชุมชนที่สนับสนุนทุนการศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้รับบริการสุขภาพที่มีมาตรฐาน จำนวนรับ 2 คน
(2.9)
โครงการพัฒนาผู้ช่วยพยาบาล
เป็นโครงการที่คณะพยาบาลศาสตร์ รับผู้มีประสบการณ์ทางวิชาชีพผู้ช่วยพยาบาล เพื่อศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จำนวนรับ 10 คน
(2.10)
โครงการพัฒนาสัตวแพทย์
เป็นโครงการในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อพัฒนาเยาวชนที่ประสงค์จะเป็นสัตวแพทย์ และมีบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายเป็นผู้ได้รับใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม หรือใบรับรองสถานประกอบการบำบัดโรคสัตว์ หรือใบอนุญาตจัดตั้งสวนสัตว์สาธารณะ หรือสถานแสดงสัตว์น้ำ จำนวนรับ 3 คน
(2.11)
โครงการความร่วมมือและส่งเสริมทางวิชาการสำหรับเยาวชน
เป็นโครงการที่คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ให้โอกาสผู้ที่ผ่านการอบรมในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อม จังหวัดสมุทรสาคร หรือโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เยาวชนช้างเผือกซิเมนต์ไทย หรือโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม จำนวนรับ 5 คน
(2.12)
โครงการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
เป็นโครงการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง ได้แก่ ชลบุรี เชียงราย ตรัง บุรีรัมย์ ปทุมธานี พิษณุโลก เพชรบุรี มุกดาหาร ลพบุรี เลย สตูล และนครศรีธรรมราช ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต่ำกว่า 3.25 เพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกลจำนวนรับ 3 คน สาขาวิศวกรรมเคมี จำนวนรับ 4 คน สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า/วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร จำนวนรับ 2 คน และสาขาวิศวกรรมโยธาจำนวนรับ 2 คน
(2.13)
โครงการโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
เป็นโครงการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย 9 แห่ง ได้แก่ นครปฐม สุพรรณบุรี อุทัยธานี สุราษฎร์ธานี เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ กระบี่ ฉะเชิงเทรา และชัยภูมิ ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.25 เพื่อศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จำนวนรับ 3 คน สาขาวิศวกรรมโยธา จำนวนรับ 2 คน
(2.14)
โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น
เป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความสามารถพิเศษดีเด่นในด้านต่าง ๆ ได้แก่ วิชาการ กีฬา และศิลปะ ได้มีโอกาสเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดลในหลักสูตรต่าง ๆ จำนวน 15 หลักสูตร จำนวนรับ 65 คน โดยมีคุณสมบัติเฉพาะด้านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด (ดูรายละเอียด ข้อ 2.2.2)
ผู้สมัครในโครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่นจะมีสิทธิ์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล ในคณะที่ให้โควตาได้ จะต้องผ่านการสอบ และการทดสอบครบทั้ง 3 ขั้นตอนดังนี้
1. สอบข้อเขียนได้คะแนนตามเกณฑ์ที่คณะกำหนด
2. ผ่านการทดสอบทักษะความสามารถเฉพาะด้านฯ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
3. ผ่านการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายตามเกณฑ์ที่คณะกำหนด
(2.15)
โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น (ด้านภาษาอังกฤษ)
เป็นโครงการที่โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษได้มีโอกาสเข้าศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โดยมีคุณสมบัติ คือ 1. ผลสอบ TOEFL ไม่น้อยกว่า 79 คะแนน (Internet-based) หรือไม่น้อยกว่า 500 (Paper-based) หรือ 2. ผลสอบ IETLS ไม่น้อยกว่า 6 หรือเทียบเท่าโดยที่ ผลสอบจนถึงวันสมัครเรียนไม่เกิน 2 ปี จำนวนรับ 5 คน
1.4
โควตาโอลิมปิกวิชาการ
เป็นโควตาที่ให้สิทธิ์แก่นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิชาการที่เป็นเลิศจากโรงเรียนทั่วประเทศ ที่มีความมุ่งมั่นและสนใจที่จะเข้าศึกษาในคณะที่เลือกสมัครอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ผู้สมัครในโควตาโอลิมปิกวิชาการนี้ ให้เข้าสัมภาษณ์โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน
โควตาโอลิมปิกวิชาการ มี ๒ หลักสูตร จำนวนรับทั้งหมด 37 คน (ดูรายละเอียดในตาราง) ซึ่งมีดังต่อไปนี้
(1.1)
โครงการพิเศษสำหรับผู้ได้รับเหรียญทองโอลิมปิกวิชาการ (ชีววิทยา หรือ เคมี)
เป็นโครงการในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 หรือ สำเร็จการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มาแล้วไม่เกิน 1 ปีการศึกษา ของโรงเรียนทั่วประเทศ โดยเป็นผู้แทนประเทศไทยในการแข่งขันคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ และได้รับเหรียญทอง สาขาชีววิทยา หรือ สาขาเคมี จำนวนรับ 2 คน (ดูภาคผนวก ซ)
(1.2)
โครงการโอลิมปิกวิชาการ (ชีววิทยา หรือ เคมี)
เป็นโครงการในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 ของโรงเรียนทั่วประเทศ ที่ผ่านการอบรมคัดเลือกครั้งที่ 2 วิชาชีววิทยา หรือ เคมี จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในโครงการจัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ และได้รับเกียรติบัตรจากการเข้ารับการอบรม จำนวนรับ 5 คน (ดูภาคผนวก ฌ)
(1.3)
โครงการโอลิมปิกวิชาการ
เป็นโครงการในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ รับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้แทนประเทศไทย ไปแข่งขันในโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือผ่านการอบรมคัดเลือก ครั้งที่ 1 จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในโครงการโอลิมปิกวิชาการ จำนวนรับ 30 คน
1.5
โควตาโครงการส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพ
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (35 คน)หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเวชระเบียน (30 คน)

เป็นโครงการที่ส่งเสริมและขยายโอกาสให้แก่นักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนทั่วประเทศที่มีความมุ่งมั่นและสนใจจะเข้าศึกษาในคณะที่เลือกสมัครอย่างแท้จริง ทั้งนี้จะต้องมีในศักยภาพในสาขานั้น เพื่อจะได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ มี 30 หลักสูตร จำนวนรับ 1,109 คน แต่ละหลักสูตรแสดงจำนวนรับในวงเล็บ ดังต่อไปนี้
(1)
หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (20 คน)
(2)
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (118 คน)
(3)
(4)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี สาขาฟิสิกส์ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาชีววิทยา สาขาพฤกษศาสตร์ และสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (150 คน)
(5)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ (50 คน)
(6)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (30 คน)
(7)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ (20 คน)
(8)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากายภาพบำบัด (60 คน)
(9)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากิจกรรมบำบัด (17 คน)
(10)
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ (130 คน)
(11)
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (20 คน)
(12)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (30 คน)
(13)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย (20 คน)
(14)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการออกกำลังกายและการกีฬา (20 คน)
(15)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล (12 คน)
(16)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี (50 คน)
(17)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (40 คน)
(18)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า/วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร (30 คน)
(19)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (24 คน)
(20)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (22 คน)
(21)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (16 คน)
(22)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาเขตกาญจนบุรี (20 คน)
(23)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ วิทยาเขตกาญจนบุรี (15 คน)
(24)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร วิทยาเขตกาญจนบุรี (20 คน)
(25)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาธรณีศาสตร์ วิทยาเขตกาญจนบุรี (20 คน)
(26)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต วิทยาเขตกาญจนบุรี (30 คน)
(27)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย (20 คน)
(28)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ (20 คน)
(29)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาศาสนศึกษา (20 คน)
(30)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น