น้องๆหลายคนที่ขึ้นชั้น ม.6 อาจจะคิดว่าเพิ่งเปิดเทอมยังชิวๆได้อีกนาน กว่าจะ Admissions ต้อง เมษายน 56 นู่แต่ความจริงแล้ว คุณแทบไม่มีเวลาเหลือให้เล่นแล้ว
กรกฎาคม
สอบ วิชาเฉพาะ ของจุฬาฯ
รับสมัครสอบ GAT-PAT 1/2556
สอบ วิชาเฉพาะ ของจุฬาฯ
รับสมัครสอบ GAT-PAT 1/2556
สิงหาคม
สอบตรง แพทย์ มข
รับสมัคร แพทย์ กสพท
สอบตรง แพทย์ มข
รับสมัคร แพทย์ กสพท
กันยายน
สอบตรง มศว
สอบตรง มศว
ตุลาคม
สอบ GAT-PAT
สอบตรง กสพท วิชาเฉพาะ
สอบตรง เภสัช ศิลปากร รอบที่ 1
สอบ GAT-PAT
สอบตรง กสพท วิชาเฉพาะ
สอบตรง เภสัช ศิลปากร รอบที่ 1
พฤศจิกายน
สอบตรง มหิดล
สอบตรง ธรรมศาสตร์
สอบตรง พระจอมเกล้าธนบุรี
สอบตรง ลาดกระบัง หลายคณะ เช่น วิศวะ สถาปัตย์
สอบตรง มอ หลายคณะ
สอบตรง ขอนแก่น
สอบตรง มหิดล
สอบตรง ธรรมศาสตร์
สอบตรง พระจอมเกล้าธนบุรี
สอบตรง ลาดกระบัง หลายคณะ เช่น วิศวะ สถาปัตย์
สอบตรง มอ หลายคณะ
สอบตรง ขอนแก่น
ธันวาคม
สอบตรง เชียงใหม่
รับสมัครสอบ GAT-PAT 2/2556
สอบตรง เชียงใหม่
รับสมัครสอบ GAT-PAT 2/2556
มกราคม
สอบ 7 วิชาสามัญ
สอบ 7 วิชาสามัญ
กุมภาพันธ์
สอบ O-NET
สอบ O-NET
มีนาคม
สอบ GAT-PAT 2/2556
สอบ GAT-PAT 2/2556
เมษายน
รับสมัครแอดมิชชั่น 2554
สอบ เภสัช ศิลปากร บูรพา รอบ 2
รับสมัครแอดมิชชั่น 2554
สอบ เภสัช ศิลปากร บูรพา รอบ 2
พฤษภาคม
ประกาศผลแอดมิชชั่น
รับตรงรอบหลังแอดมิชชั่น บางคณะ บางมหาวิทยาลัย
ประกาศผลแอดมิชชั่น
รับตรงรอบหลังแอดมิชชั่น บางคณะ บางมหาวิทยาลัย
สำหรับ เกษตรศาสตร์ แต่ละหลายคณะก็สอบเข้านะครับ เช่น ประมง สถาปัตย์ เกษตร วิทยาศาสตร์ วิศวะยื่นคะแนน gat-pat ครับผม
สรุป เดือน
สิงหาคม-กันยายน จะเป็นเดือนแห่งการสมัคร ช่วงนี้ควรจะเข้าเว็บไซต์เพื่อเชคข่าวทุกวัน
ตุลาคม-พฤศจิกายน จะเป็นเดือนแห่งการสอบข้อเขียน
สิงหาคม-กันยายน จะเป็นเดือนแห่งการสมัคร ช่วงนี้ควรจะเข้าเว็บไซต์เพื่อเชคข่าวทุกวัน
ตุลาคม-พฤศจิกายน จะเป็นเดือนแห่งการสอบข้อเขียน
สนามสอบใหญ่ครั้งแรกของน้อง ๆ จะเป็น สอบตรง มศว เพราะที่นี่รับสมัครนักเรียนจากทั่วประเทศ ปีก่อนมีผู้สมัครมากถึง 85,169 ราย ค่าสมัครก็ประมาณ 42,584,500 บาท !! ( สาเหตุที่นี้รับสมัครเร็ว ไม่ใช่เพราะเงินหมด อย่างที่น้องๆแซวกัน แต่น่าจะมาจากถ้าทราบตัวเลขผู้สมัครก่อน จะได้มีเวลาจัดเตรียมสถานที่สอบ มีความพร้อม เพราะปีก่อนเปลี่ยนสนามสอบกันกะทันหัน เด็กไม่เข้าตามข่าวก็แย่เลย )
มศว สอบเดือน กันยายน 2555 นั่นหมายความว่าเราเหลือเวลา อีกแค่ 4 เดือนเท่านั้น รอหลังจากนั้นก็พบกับเทศกาลสอบครั้งใหญ่ คือ gat-pat และหลังจากนั้น สอบตรง จะตามมาเรื่อย ๆ ไม่หยุด บอกได้เลยว่ามันสาหัสมาก
แนะนำวิธีเตรียมตัว
1 ต้องถามตัวเองให้ชัดๆ เลยว่าอยากเรียนอะไรกันแน่ คณะอะไร เพราะถ้าเรามีจุดหมายแล้วจะทำให้การวางแผนในการอ่านหนังสือง่ายขึ้นเยอะ
2 รู้เป้าหมาย รู้ว่าต้องสอบ อะไร !! เช่น
อยากเรียนแพทย์ ทันตแพทย์ : ต้องสอบ 7 วิชาสามัญ วิชาเฉพาะแพทย์ O-NET PAT2 GAT
อยากเรียนวิศวะ : สอบ PAT1 PAT2 PAT3 ONET
( ยื่นคะแนนรับตรงใช้ PAT1 แต่ถ้า Admissions จะใช้ PAT2 สรุป คนเรียนวิศวะสอบเยอะสุด เหนื่อยสุด )อยากเรียนวิทยศาสตร์ : สอบ PAT1 PAT2 PAT3 GAT
อยากเรียนมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : สอบ GAT PAT1 PAT7
แนะนำน้องให้โหลด ระเบียบการ Admissions 55 จะมีวิชาที่เราต้องใช้ downloadเอกสารทั้งหมด ปลเกณฑ์ Admission 56 ดูจากใต้บทความ
อยากเรียนวิศวะ : สอบ PAT1 PAT2 PAT3 ONET
( ยื่นคะแนนรับตรงใช้ PAT1 แต่ถ้า Admissions จะใช้ PAT2 สรุป คนเรียนวิศวะสอบเยอะสุด เหนื่อยสุด )อยากเรียนวิทยศาสตร์ : สอบ PAT1 PAT2 PAT3 GAT
อยากเรียนมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : สอบ GAT PAT1 PAT7
แนะนำน้องให้โหลด ระเบียบการ Admissions 55 จะมีวิชาที่เราต้องใช้ downloadเอกสารทั้งหมด ปลเกณฑ์ Admission 56 ดูจากใต้บทความ
3 แนะนำให้สอบ GAT-PAT ทุกรอบ เพราะความยากง่ายอาจจะไม่เท่ากัน ถ้าอ่านหนังสือไม่ทัน ก็ให้เน้นวิชาที่ใช้สัดส่วนเยอะเช่น จะเข้าเภสัช ใช้ PAT2 40 ก็เน้น pat2 ไปก่อนเลย
4 สอบตรงส่วนใหญ่ข้อสอบจะเป็นเนื้อหาม 4-5 นะครับ ม.6 ก็มีออกบ้างแต่ไม่เยอะ ยังไงก็เน้นไปที่ 4-5 เป็นหลักครับ
5 ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ จากเว็บไซต์การศึกษาทุกเว็บไซต์ และเว็บไซต์มหาวิทยาลัยที่เราอยากเข้าครับ
6 ถ้าใครไม่เดือนร้อนเรื่องเงินทองก็แนะนำให้สอบตรงหลายๆสนาม เพราะจะทำให้เราเคยชินกับการสอบที่กดดันมากครับ และจะทำให้เราตื่นตัวอยู่เสมอ
7 อย่าคิดว่าตัวเองเก่งแล้วประมาท ครับอยากบอกได้เลยว่าเสือซุ่มมีเยอะ ในห้องดูเหมือนไม่เรียนกัน แต่พอถึงบ้านบางคนอ่านหนังสือทั้งคืน
8 ไม่มีตังเรียนกวดวิชา ทำไงดี !! แนะนำให้เรียนฟรีจาก มาม่า แบรนด์ เปปทีน ก็ได้ครับ หรือนี่ จุฬาเรดิโอ http://www.curadio.chula.ac.th/Sarupkhem/index.php
9 เทคนิคการอ่านหนังสือของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกันบางคนชอบอ่านตอนดึก บางคนชอบอ่านที่เงียบๆ บางคนสอบอ่านกับเพื่อน ก็ทดลองและปรับประยุกต์เทคนิคเป็นของตัวเองเลยจ้า ลองเข้าไปอ่านบทความได้ที่ http://unigang.com/Category/24
10 บางครั้งปัญหาชีวิต เรื่องเรียนที่ว่าหนักแล้ว แต่ก็จะมีเรื่องอื่นที่อาจจะหนักกว่าด้วยเช่น ครอบครัว เพื่อน และ ความรัก แต่ก็อยากบอกเลยว่าทุกคนก็มีปัญหากันทุกคนมากบ้างน้อยมาก ใครเจอปัญหาเยอะก็คิดซะว่า พระเจ้าส่งบททดสอบมาให้เรา เพื่อนให้เราผ่านไปให้ได้ เราจะเก่งและแข็งแกร่งขึ้นเอง
11 ถ้ายังไม่รุ้ว่าตัวเองจะสอบอะไร แต่ต้องอ่านหนังสือเพื่อสอบเข้า ผมก็แนะนำ ภาษาอังกฤษ รองลงมาก็ คณิตศาสตร์
12 ลองหาข้อมูลรับตรงปีก่อนได้จาก http://unigang.com/Search ให้พิมพ์ชื่อคำว่า รับตรง คณะ สถาบัน ระบุปี 55 เช่น รับตรง เภสัช ศิลปากร
13 ถ้ามีที่ไหนเปิดค่าย ก็แนะนำให้เข้านะครับ เพราะจะได้คุยกับพี่ ๆ เราจะได้เข้าใจในตัวคณะและสาขามากขึ้น ถ้าไม่ชอบจะได้เปลี่ยนทัน
14 การสอบไม่ได้วัดกันที่ความฉลาด ไหวพริบอย่างเดียว แต่ยังวัดกันที่ มานะ ความอึด อดทน กำลังใจ เพราะเราทุกคนต้องสู้กับการสอบหลายครั้งอาจจะมีทั้้งผิดหวังและสมหวัง แต่ถ้าใครเกิดผิดหวังและเกิดหมดกำลังใจไป อาจจะทำให้เราผิดหวังไปตลอดกาล แต่เราสอบไม่ติดแล้วไม่ท้อกับมาอ่านหนังสือต่อ ความหวังว่าย่อมมีวันเป็นจริงแน่นอน อันนี้ขอแนะนำให้อ่าน ซิ่ว4ปีเพื่อคณะในฝัน ถ้าเราตั้งใจไม่มีคำว่าเป็นไปไม่ได้ :)
15 ถ้าผู้ปกครองหรือครูเข้ามาอ่าน อยากบอกว่า น้องๆต้องการกำลังใจจากพวกคุณ !!
ทปอ ประกาศปรับน้ำหนัก Admissions 2556
ทุกกลุ่มสาระ ยังคง GPAX 20% และ O-NET 30%
กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ปรับ คือ
สัตวแพทยศาสตร์ สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์การกีฬา GAT 20% PAT2 30%
สัตวแพทยศาสตร์ สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์การกีฬา GAT 20% PAT2 30%
เภสัชศาสตร์ ,GAT 10% และPAT2 40%
ทันตแพทย์/ พยาบาลเหมือนเดิม คือ GAT 30% PAT2 20%
ทันตแพทย์/ พยาบาลเหมือนเดิม คือ GAT 30% PAT2 20%
สรุป ที่เปลี่ยนไปมีเพียง เภสัชศาสตร์ จาก GAT 20% PAT2 30% เป็น GAT10% PAT2 40%
กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ปรับสาขา วิทยาศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ GAT 10% ,PAT1 10% และPAT2 30%
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ GAT 10% ,PAT1 20% และ PAT2 20%
สรุป ที่เปลี่ยนไปมีเพียง สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ จาก GAT 10% ,PAT1 10% และPAT2 30% เป็น GAT 10% ,PAT1 20% และ PAT2 20%
กลุ่มที่ 3 วิศวกรรมศาสตร์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ใช้ GAT 15%, PAT2 15% , PAT 3 20%
ปล. สำหรับผมกลุ่มนี้ก็น่าปรับน้ำหนักนะครับ
ปล. สำหรับผมกลุ่มนี้ก็น่าปรับน้ำหนักนะครับ
กลุ่มที่ 4 สถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ใช้ GAT 10% PAT4 40%
กลุ่มที่ 5 เกษตรศาสตร์ ปรับสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมการเกษตร วนศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร GAT 10% และPAT1 10% และPAT2 30%
สรุป มีการปรับน้ำหนักจาก GAT 20% PAT1 10% PAT2 20% น่าจะทำให้คะแนนแอดปีนี้ ลดลงจ้า
กลุ่มที่ 6 พาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี เศรษฐศาสตร์ การท่องเทียว ไม่มีการปรับน้ำหนัก
- พาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ GAT 30% PAT1 20%
- ท่องเทียว รูปแบบ 1 GAT 50 %
- ท่องเทียว รูปแบบ 2 GAT 40% PAT7 10%
- ท่องเทียว รูปแบบ 1 GAT 50 %
- ท่องเทียว รูปแบบ 2 GAT 40% PAT7 10%
กลุ่มที่ 7 ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พลศึกษา สุขภาพ รูปแบบที่ 1 GPAX 20%, O-NET 30% ,GAT 20% และPAT5 30%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% ,GAT 10% และPAT5 20% และต้องเลือกสอบ PAT 1/2/3/4/6/7 วิชาใดก็ได้ 1 วิชา 20%
สรุป กลุ่มนี้ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากปีก่อน ใช้ GAT20% PAT5 30% ทุกคณะเลยครับ
โดยเฉพาะให้มีการเลือกสอบ PAT วิชาใดก็ได้ แบบนี้จะวัดเด็กได้ตรงความต้องการของสาขาหรอ >.<
กลุ่มที่ 8 ศิลปกรรมศาสตร์ ปรับ สาขา วิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์ ดุริยางศิลป์ นาฎศิลป์ ศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ และศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม GPAX 20% , O-NET 30%, GAT 10% และเลือกสอบPAT4 หรือ 6 เพียง 1 วิชา 40%
สรุป ปีก่อนใช้ได้แค่ PAT6 เท่านั้นนะครับ แต่ปี 56 นี้ใช้ PAT4 ได้ด้วย หุหุ
กลุ่มที่ 9 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขา นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
ปรับพื้นฐานวิทยาศาสตร์ GAT 30% และPAT1 20%
พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 ไม่มีการปรับเปลี่ยน ( ใช้ GAT 50% )
พื้นฐานศิลปศาสตร์รูปแบบที่ 2 GAT 30% และPAT7 20%
ปรับพื้นฐานวิทยาศาสตร์ GAT 30% และPAT1 20%
พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 ไม่มีการปรับเปลี่ยน ( ใช้ GAT 50% )
พื้นฐานศิลปศาสตร์รูปแบบที่ 2 GAT 30% และPAT7 20%
สรุป อันนี้ถือว่าเป็นการกระทบต่อเด็กสายศิลป์ อย่างมากนะครับ เพราะเมื่อก่อนใช้ GAT 40% PAT1 10% แต่ปรับเป็น GAT 30% PAT1 20% การปรัแบบนี้ทำให้เด็กสายศิลป์ เสียเปรียบสายวิทย์เต็ม ๆ ขอให้น้องสายศิลป์ เตรียมฟิต คณิตศาสตร์ให้ดี !!!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น